วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ประโยชน์ของวิตามินบี


วิตามินบี

กลุ่มวิตามิน B

มีหลายตัวดังนี้

1. วิตามิน B1 คือ THIAMINE
2. วิตามิน B2 คือ RIBOFLAIN
3. วิตามิน B3 คือ NIACIN หรือ NICOTINIC ACID หรือ NIACINA MIDE
4. วิตามิน B5 คือ PANTOTHENIC ACID
5. วิตามิน B6 คือ PYRIDOXINE
6. วิตามิน B12 คือ CYANO COBALAMIN
7. วิตามิน B15 คือ PANGAMIC ACID

วิตามิน B1 (THIAMINE)

วิตามิน B1 มีมากในเมล็ดข้าวต่าง ๆ ที่ไม่ได้ขัดให้ขาว เช่น ข้าวซ้อมมือ หรือข้าวแดง ข้าวโอ๊ต เนื้อหมู ตับ ถั่ว รำข้าว และยีสต์ที่ตายแล้ว

อาการเมื่อขาดวิตามิน B1 เริ่มจาก

เบื่ออาหาร นอนหลับยาก ความคิดสับสน สมองมึนงง อารมณ์แปรปรวน หากขาดรุนแรงอาจทำให้เกิดอาการทางการเคลื่อนไหวไม่สัมพันธ์กัน ชาตามปลายมือปลายเท้า รุนแรงมากขึ้นอาจเป็นอัมพาต และโรคหัวใจวายได้

ประโยชน์ของวิตามิน B1

1. ช่วยให้รู้สึกเจริญอาหาร
2. ช่วยให้สมองไม่มึนงงไม่สับสนมองโลกในแง่ดี มีความคิดอ่านดี ให้พลังงานแก่ประสาท และสมองและการสร้างสารอะเซททิลโคลีน
3. ช่วยให้ระบบประสาท ระบบกล้ามเนื้อทำงานดีสัมพันธ์กัน
4. ช่วยรักษาโรคเหน็บชา
5. ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจทำงานดีขึ้น
6. ช่วยให้ไม่เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ

สาเหตุที่ขาดวิตามิน B1

1. รับประทานอาหารที่มีวิตามิน B1 ในปริมาณที่ไม่เพียงพอ หรือรับประทานอาหารที่ไม่ใช่ วิตามินB
2. รับประทาน อาหารคาร์โบไฮเดรตมากเกินไป ทำให้ร่างกายต้องใช้ วิตามิน B ไปมากในการเผาผลาญสารอาหารคาร์โบไฮเดรต จนร่างกายขาดวิตามิน B
3. การหุงต้มอาหาร ในความร้อนนานเกินไปทำให้ วิตามิน B ความร้อนทำลาย
4. ผู้สูงอายุ อาจจะมีการดูด ซึมวิตามิน B ไม่ดี
5. ผู้ที่ดื่มสุรา เป็นอาจิณ ทำให้วิตามิน B ถูกแอลกอฮอล์ทำลายหมด และวิตามิน B ดูดซึมเข้าไปไม่ได้


วิตามิน B2 (RIBOFLAVIN)

อาหารที่มีวิตามิน B2 พบในอาหารประเภท

- เครื่องใน เช่น ตับ ไต (เซี่ยงจี๊)
- น้ำนม และนมเปรี้ยว (โยเกิร์ต)
- ผักใบเขียว และ ปลา

ประโยชน์ ของวิตามิน B2

- ช่วยเร่งการเจริญเติบโตของทารกและเด็ก
- ช่วยให้ผมและเล็บ แข็งแรง และผิวหนังแข็งแรง
- ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดโรคต้อกระจก
- ช่วยให้ระบบประสาท หู และตา ทำงานดี
- ช่วยให้ไม่เกิดโรคปากนกกระจอก และแผลในปากเปื่อย
- ช่วยไม่ให้เกิดแผลโคนลิ้น หรือลิ้นแตก

อาการของผู้ที่ขาดวิตามิน B2

- เกิดแผลแตกตรงมุมปากที่เรียกว่าแผลปากนกกระจอก
- เกิดแผลในเยื่อช่องปากที่เรียกว่า แผลปากเปื่อย ซึ่งอาจจะเกิดแผลที่ลิ้น และลิ้นจะแดงแตก
- เกิดตาระคายเคือง ขอบตาและหนังตาแห้งเป็นสะเก็ด ระคายเคือง
- ผิวหนังรอบ ๆ รูจมูก และหน้าผากจะแห้งตกสะเก็ด


วิตามิน B3 (NIACIN)

อาหารที่มีวิตามิน B3 ได้แก่

- ตับวัว, หัวใจวัว, ไตวัว
- เนื้อกระต่าย, ไก่งวง, ไก่เนื้อ
- ปลาทูน่า แป้งสาลี่ที่บดทั้งเมล็ด
- เมล็ดในดอกทานตะวัน, ถั่ว และยีสต์

อาการของผู้ที่ขาดวิตามิน B3

- เบื่ออาหารไม่ค่อยรู้รสอาหาร
- ลิ้นแห้ง
- ผิวหนังเป็นผื่นแดง ตกสะเก็ด เรียกว่าโรค PELLAGRA
- อารมณ์แปรปรวน หลงๆ ลืมๆ สับสน ตกใจง่าย บางคนประสาทหลอน จิตใจหดหู่
- บางคนจะมีความรู้สึก ท้องอืด ท้องอึดอัด
- บางคนเดินทรงตัวไม่ไหว

ทางการแพทย์ได้มีการใช้วิตามิน B3 ผลิตเป็นยาในสภาพที่วิตามินตัวนี้เป็นกรด เรียกว่า ไนอาซินาไมด์ มารักษาโรคต่างๆ เช่น โรคขาดสมาธิ จิตใจ และอารมณ์กระวนกระวาย หรือพวกจิตซึมเศร้า พวกคนไข้ที่อ่อนเพลียระเหี่ยใจ , พวกตื่นเต้นตกใจง่าย และพวกที่มีอาการวิงเวียนศีรษะ ทรงตัวไม่ดี และ ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เรียก โรค PELLAGRA ที่เกิดจากขาดวิตามิน B3 เรื้อรังมานาน จนเกิดโรครุนแรงขึ้นได้

ที่มา : http://www.thainakarin.co.th/tipsdetailth.php?id=45

วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2552

5 วิธีลดความดันสูงด้วยการรักษาทางเลือก

ปริมาณเกลือที่รับประทาน มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทาน
เกลือมาก จะพบว่ามีความดันสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อยกว่า ดังนั้น
วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดจะต้องลดเกลือ เพิ่มผักผลไม้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ตรวจเช็คความดันโลหิตทุก 6 เดือน และหากพบความดันโลหิตสูงผิดปกติ
ควรรีบดูแลรักษาปละปรับพฤติกรรมตามหลักปัญจกิจ หรือร่วมกับ 5 แนวทาง
การรักษาทางเลือกที่เรานำมาฝากกันค่ะ

1. คันธบำบัด มีคำแนะนำมากมายจากอโรมาเทอราปิสต์ ให้ใช้น้ำมันหอมระเหย
บางชนิดช่วยบำบัดอาการ และทำให้ผ่อนคลาย เช่น น้ำมันหอมระเหย กลิ่นคาโมไมล์
ลาเวนเดอร์

2. การบำบัดด้วยอาหาร ด้วยการลดปริมาณเกลือโซเดียม และหันมาเพิ่มอาหาร
ที่มีธาตุโพแทสเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งมีมากในผักและผลไม้สด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
กล้วย มันฝรั่ง และผักใบเขียวต่างๆ เช่น เซเลอรี่(ขึ้นฉ่ายฝรั่ง) ซึ่งถือเป็นผักที่ดี
ในการลดความดันโลหิต

3. การบำบัดด้วยสมุนไพร การดื่มน้ำสมุนไพรจากขึ้นฉ่าย กระเจี๊ยบแดง
และบัวบก เป็นต้น

4. การผ่อนคลายและทำสมาธิ เทคนิคการทำสมาธินั้นมีประโยชน์ช่วยรักษาระดับ
ความดันโลหิต จากการศึกษามีคำแนะนำว่า การทำสมาธิ 20 นาที วันละ 2 ครั้ง
จะช่วยลดความดันโลหิตได้

5. โสตบำบัด คำแนะนำจากนักวิจัยเพื่อช่วยลดความดันโลหิต คือให้ฟังเพลงที่ช่วย
ผ่อนคลาย แล้วหายใจเข้าออกลึกๆ แล้วปล่อยให้ตัวเองซึมซับเอาพลังงานเสียภาพประกอบจาก http://www.umich.edu/news/Releases/2004/Sep04/img/blood_press.jpgงเข้าไว้

ความดันโลหิตสูงนั้นป้องกันได้
ถ้าเริ่มต้นปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวคุณ
สู่วิถีชีวิตที่มีความสุขทั้งกายและใจตั้งแต่วันนี้

ที่มา : เกร็ดสุขภาพ(วัยสูงอายุ) นิตยสาร ชีวจิต
ฉบับที่ 191 ปีที่ 8 กันยายน 2549